วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555


บทที่ 5
การออกแบบการเรียนการสอน
            การออกแบบการเรียนรู้ เป็นการออกแบบที่มีเป้าหมายความเข้าใจในการเรียนรู้ ผู้ออกแบบหรือผู้สอนจึงต้องคิดอย่างนักประเมินผล ตระหนักถึงหลักฐานของความเข้าใจทั้ง 6 ด้าน ที่ชัดเจนและลึกซึ้ง โดยผู้เรียนสามารถอธิบาย แปลความ ในการนำไปประยุกต์ใช้ การออกแบบการเรียนรู้จึงเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถ ในการแสดงความสามารถการนำเสนอมุมมองได้อย่างหลากหลาย ดังนี้
1.  ความสามารถในการอธิบาย ผู้เรียนสามารถอธิบาย ด้วยหลักการที่เป็นเหตุและผล อย่างเป็นระบบ
การประเมินผล ใช้วิธีการพูดคุยเพื่อประเมินเหตุผลจากการอธิบายของผู้เรียน  การมอบหมายงานที่ใช้ทักษะการเขียน การเรียงความ หรือย่อความ  การสอบถามถึงประเด็นที่ผู้เรียนมักสับสนหรือหลงประเด็น  การให้ผู้เรียนสรุปประเด็นการเรียนรู้   และการสังเกตลักษณะคำถามที่ผู้เรียนสอบถาม
2.  ความสามารถในการแปลความ ผู้เรียนสามารถแปลความได้ชัดเจน และตรงประเด็น
การประเมินผล  ใช้วิธีการให้ผู้เรียนเขียนสะท้อนเรื่องราว แนวคิด หรือทฤษฎี เพื่อประเมินเกี่ยวกับการลำดับ ไล่เรียง และความชัดเจนของสาระเนื้อหา
3.  ความสามารถในการประยุกต์ใช้ ผู้เรียนสามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้อย่างถูกต้องและครอบคลุม
การประเมินผล  ใช้วิธีการให้ผู้เรียนนำความรู้ไปใช้ในสถานการณ์ที่กำหนดวัตถุประสงค์เฉพาะ  การให้ผู้เรียนประเมินหรือเขียนข้อมูลป้อนกลับจากการนำความรู้ไปใช้
4.  ความสามารถในการมองมุมที่หลากหลาย ผู้เรียนสามารถเสนอมุมมองใหม่ ที่ทันสมัยและน่าเชื่อถือ
การประเมินผล  ใช้วิธีการวิเคราะห์วิจารณ์ โดยให้ผู้เรียนเปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสีย แนวทางในการคิด การมองจากสถานการณ์ตัวอย่าง
5.  ความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น ผู้เรียนมีความพร้อมในการรับฟังและสนองตอบ
การประเมินผล  ใช้วิธีการให้ผู้เรียนประเมินความสามารถในการสมมติ การเข้าไปนั่งในใจผู้อื่น
6.  ความสามารถในการเข้าใจตนเอง ผู้เรียนมีความใส่ใจ พร้อมปรับตัวรับการเรียนรู้ใหม่ 
การประเมินผล  ใช้วิธีการให้ผู้เรียนประเมินเปรียบเทียบผลงานของตัวเองแต่ละช่วงเวลา มีความรู้และเข้าใจมากขึ้นเพียงไร
            ทฤษฎี​​​​​ การออกแบบระบบการเรียนการสอน​​​​​ (Instructional System Design : ISD) ซึ่ง​​​​​​​​​เป็น​​​​​​​​​เนื้อหาที่รายวิชา​​​​​​​​​ได้​​​​​​​​​นำ​​​​​​​​​เสนอ​​​​​​​​​ไว้​​​​​ ​​​​​ใน​​​​​​​​​สัปดาห์ที่​​​​​ 3 โดย​​​​​​​​​นำ​​​​​​​​​เสนอรูปแบบของระบบการเรียนการสอนมีหลายรูปแบบ​​​​​ แต่ละรูปแบบสรุป​​​​​​​​​แล้ว​​​​​ ​​​​​อยู่​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​กรอบของ​​​​​ ADDIE Model (Analysis, Design, Development, Implementation, Evaluation) 
กระบวนการจัดการเรียนการสอน​​​​​​​​​โดย​​​​​​​​​ส่วน​​​​​​​​​ตัว​​​​​ ​​​​​เมื่อ​​​​​​​​​ได้​​​​​​​​​รับมอบหมาย​​​​​​​​​จาก​​​​​​​​​ภาควิชา​​​​​​​​​ให้​​​​​​​​​รับผิดชอบสอน​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​รายวิชา​​​​​​​​​ใด​​​​​ ​​​​​ก็​​​​​​​​​จะวางแผนการสอน​​​​​
 สิ่งแรกที่​​​​​​​​​ต้อง​​​​​​​​​ทำ​​​​​ ​(​​​​​เป็น​​​​​​​​​ข้อบังคับของฝ่ายวิชาการของมหาวิทยาลัย) ​​​​​คือ​​​​​ ​​​​​ต้อง​​​​​​​​​ส่ง​​​​​ แนวการสอน​​​​​​​​​หรือ​​​​​​​​​แผนการสอน​​​​​ (Course Syllabus) ตลอด​​​​​​​​​ทั้ง​​​​​​​​​ภาคเรียน​​​​​ ซึ่ง​​​​​​​​​อาจมีรายละ​​​​​​​​​เอียดที่​​​​​​​​​แตกต่าง​​​​​​​​​กัน​​​​​​​​​บ้าง​​​​​ ​​​​​ใน​​​​​​​​​แต่ละสถาบัน​​​​​ แต่​​​​​​​​​ส่วน​​​​​​​​​ใหญ่​​​​​​​​​น่า​​​​​​​​​จะ​​​​​​​​​เป็น​​​​​​​​​แผนการสอน​​​​​​​​​โดย​​​​​​​​​คร่าว​​​​​ ​​​​​ๆ ส่วน​​​​​​​​​ประกอบ​​​​​ ได้​​​​​​​​​แก่
ข้อมูลเกี่ยว​​​​​​​​​กับ​​​​​​​​​รายวิชา​​​​​ คำ​​​​​​​​​อธิบายรายวิชา จุดประสงค์​​​​​​​​​ทั่ว​​​​​​​​​ไป แผนการสอนแต่ละบท/สัปดาห์​​​​​ ​​​​​ที่ประกอบ​​​​​​​​​ด้วยจุดประสงค์​​​​​​​​​เชิงพฤติกรรม​​​​​ ​​​​​เนื้อหา​​​​​ (หัวเรื่องหลัก​​​​​​​​​และ​​​​​​​​​หัวเรื่องรอง) กิจกรรม​​​​​​​​​และ​​​​​​​​​วิธีการสอน สื่อการเรียนการสอน​​​​​ ชื่อตำ​​​​​​​​​รา​​​​​​​​​หรือ​​​​​​​​​หนังสื่อที่​​​​​​​​​ใช้​​​​​​​​​ประกอบ​​​​​ ​​​​​และ​​​​​ ​​​​​เกณฑ์การวัด​​​​​​​​​และ​​​​​​​​​ประ​​​​​​​​​เมินผล
กระบวนการเขียนแผนการสอนนี้​​​​​ ผมคิดว่า​​​​​​​​​เป็น​​​​​​​​​กระบวนการออกแบบระบบการเรียนการสอน ​​​​​เพียงแต่​​​​​​​​​ไม่​​​​​​​​​ได้​​​​​​​​​แบ่งแยกขั้นตอน​​​​​​​​​ให้​​​​​​​​​ชัดเจน​​​​​ ​​​​​และ​​​​​​​​​บางขั้นตอน​​​​​​​​​ยัง​​​​​​​​​อาจ​​​​​​​​​จะ​​​​​​​​​ยัง​​​​​​​​​ไม่​​​​​​​​​สมบูรณ์ ผมลองวิ​​​​​​​​​เคราะห์สิ่งที่ตนเองปฏิบัติหน้าที่​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​การสอนที่ผ่านมา​​​​​ เชื่อมโยง​​​​​​​​​กับ​​​​​​​​​ทฤษฎีการออกแบบระบบการเรียนการสอน พอสรุป​​​​​​​​​ได้​​​​​​​​​ดังนี้
1) การวิ​​​​​​​​​เคราะห์​​​​​ (Analysis) ใน​​​​​​​​​ประ​​​​​​​​​เด็นต่าง​​​​​ ​​​​​ๆ​​​​​ ​​​​​ได้​​​​​​​​​แก่
การวิ​​​​​​​​​เคราะห์​​​​​​​​​ความ​​​​​​​​​จำ​​​​​​​​​เป็น​​​​​ ​​​​​สำ​​​​​​​​​หรับวิชาที่จัด​​​​​​​​​ไว้​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​หลักสูตร​​​​​ ​​​​​และ​​​​​​​​​เป็น​​​​​​​​​วิชาที่​​​​​​​​​เลือก​​​​​​​​​ให้​​​​​​​​​นักศึกษา​​​​​​​​​เรียน​​​​​ ​​​​​ส่วน​​​​​​​​​นี้คณะกรรมการบริหารหลักสูตร​​​​​ ​​​​​ได้​​​​​​​​​ทำ​​​​​​​​​การวิ​​​​​​​​​เคราะห์​​​​​​​​​ถึง​​​​​​​​​ความ​​​​​​​​​จำ​​​​​​​​​เป็น​​​​​ ​​​​​ด้วย​​​​​​​​​เหตุ​​​​​​​​​และ​​​​​​​​​ผล​​​​​ ​​​​​อาจมีการปรับเปลี่ยนหลักสูตร​​​​​ ​​​​​คำ​​​​​​​​​อธิบายรายวิชา​​​​​​​​​ให้​​​​​​​​​ทันสมัยตาม​​​​​​​​​ความ​​​​​​​​​ก้าวหน้าทางวิชาการที่​​​​​​​​​เปลี่ยนไป
การวิ​​​​​​​​​เคราะห์งาน​​​​​​​​​หรือ​​​​​​​​​การเรียนการสอน ​​​​​ได้​​​​​​​​​แก่​​​​​ ​​​​​การวิ​​​​​​​​​เคราะห์​​​​​​​​​เนื้อหา​​​​​​​​​และ​​​​​​​​​กิจกรรมต่าง​​​​​ ​​​​​ๆ​​​​​ ​​​​​ที่​​​​​​​​​ผู้​​​​​​​​​สอน​​​​​​​​​ต้อง​​​​​​​​​ทำ​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​รายวิชา โดย​​​​​​​​​การแสดงหัวข้อเนื้อหาหลัก​​​​​ ​​​​​หัวเรื่องรอง​​​​​ ​​​​​โดย​​​​​​​​​ยึดกรอบคำ​​​​​​​​​อธิบายรายวิชา​​​​​​​​​เป็น​​​​​​​​​หลัก
การวิ​​​​​​​​​เคราะห์​​​​​​​​​ผู้​​​​​​​​​เรียน ​​​​​ส่วน​​​​​​​​​ใหญ่​​​​​​​​​มักทำ​​​​​​​​​ด้วย​​​​​​​​​กระบวนการสั้น​​​​​ ​​​​​ๆ​​​​​ ​​​​​เช่น​​​​​ ​​​​​สอบถาม​​​​​​​​​ความ​​​​​​​​​รู้พื้นฐาน​​​​​ ​​​​​บางครั้งอาจมีการประ​​​​​​​​​เมินผลก่อนเรียน​​​​​ ​​​​​แต่​​​​​​​​​ส่วน​​​​​​​​​ใหญ่​​​​​​​​​ไม่​​​​​​​​​ได้​​​​​​​​​นำ​​​​​​​​​มา​​​​​​​​​ใช้​​​​​​​​​ประ​​​​​​​​​โยชน์​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​การออกแบบการเรียนการสอน​​​​​​​​​เท่า​​​​​​​​​ไรนัก​​​​​ ​​​​​ทั้ง​​​​​​​​​ที่​​​​​​​​​เป็น​​​​​​​​​ส่วน​​​​​​​​​สำ​​​​​​​​​คัญมาก​​​​​ ​​​​​ๆ​​​​​ ​​​​​ที่​​​​​​​​​จะ​​​​​​​​​ช่วย​​​​​​​​​ให้​​​​​​​​​ผู้​​​​​​​​​เรียนประสบ​​​​​​​​​ความ​​​​​​​​​สำ​​​​​​​​​เร็จทางการเรียน​​​​​ ​​​​​แต่​​​​​​​​​เนื่อง​​​​​​​​​จาก​​​​​​​​​มี​​​​​​​​​ผู้​​​​​​​​​เรียนจำ​​​​​​​​​นวนมาก​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​ห้องเรียน​​​​​ ​​​​​ผู้​​​​​​​​​สอน​​​​​​​​​ไม่​​​​​​​​​อาจออกแบบการสอน​​​​​​​​​ให้​​​​​​​​​เหมาะสม​​​​​​​​​กับ​​​​​​​​​ผู้​​​​​​​​​เรียน​​​​​​​​​เป็น​​​​​​​​​รายบุคคล​​​​​​​​​ได้​​​​​ ​​​​​จึง​​​​​​​​​ออกแบบการสอน​​​​​​​​​ให้​​​​​​​​​เหมาะ​​​​​​​​​กับ​​​​​​​​​ผู้​​​​​​​​​เรียน​​​​​​​​​ส่วน​​​​​​​​​ใหญ่​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​ห้อง
การวิ​​​​​​​​​เคราะห์วัตถุประสงค์ มีการวิ​​​​​​​​​เคราะห์วัตถุประสงค์​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​การเรียนการสอน​​​​​ ​​​​​โดย​​​​​​​​​แบ่ง​​​​​​​​​เป็น​​​​​​​​​วัตถุประสงค์​​​​​​​​​ทั่ว​​​​​​​​​ไปของรายวิชา​​​​​ และ​​​​​​​​​วัตถุประสงค์​​​​​​​​​เชิงพฤติกรรม​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​แต่ละบท​​​​​
2) การออกแบบ (Design) คือ​​​​​ ​​​​​การออกแบบ​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​ส่วน​​​​​​​​​ของ วัตถุประสงค์การสอนแต่ละบท​​​​​​​​​หรือ​​​​​​​​​แต่ละสัปดาห์​​​​​ เน้นการพัฒนา​​​​​​​​​ผู้​​​​​​​​​เรียน​​​​​​​​​ให้​​​​​​​​​ครบ​​​​​​​​​ทั้ง​​​​​ 3 ด้าน​​​​​ ​​​​​คือ​​​​​ ​​​​​ด้านสติปัญญา​​​​​ (Cognitive) ด้านทักษะ​​​​​ (Psychomotor) และ​​​​​​​​​ด้านลักษณะนิสัย​​​​​ (Affective) ลำ​​​​​​​​​ดับเนื้อหา​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​การสอน ระบุวิธีสอน​​​​​​​​​หรือ
กลยุทธ์​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​การสอน​​​​​
 ซึ่ง​​​​​​​​​ส่วน​​​​​​​​​ใหญ่​​​​​​​​​ก็​​​​​​​​​ใช้​​​​​​​​​วิธีการบรรยาย​​​​​ อภิปราย​​​​​ ​​​​​มอบหมายงาน​​​​​ ​(​​​​​ส่วน​​​​​​​​​ใหญ่​​​​​​​​​ยัง​​​​​​​​​ใช้​​​​​​​​​วิธี​​​​​​​​​ผู้​​​​​​​​​สอน​​​​​​​​​เป็น​​​​​​​​​ศูนย์กลาง) เลือกสื่อการสอน​​​​​ และ​​​​​​​​​กำ​​​​​​​​​หนดวิธีการประ​​​​​​​​​เมินผล​​​​​ ทั้ง​​​​​​​​​หมด​​​​​​​​​ได้​​​​​​​​​ออกแบบ​​​​​​​​​โดย​​​​​​​​​กำ​​​​​​​​​หนด​​​​​​​​​ไว้​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​แผนการสอน​​​​​​​​​แล้ว​​​​​ ​​​​​แต่​​​​​​​​​จะ​​​​​​​​​นำ​​​​​​​​​มา​​​​​​​​​ใช้​​​​​​​​​ตามแผน​​​​​​​​​ได้​​​​​​​​​ทั้ง​​​​​​​​​หมด​​​​​​​​​หรือ​​​​​​​​​ไม่​​​​​​​​​นั้น​​​​​ ​​​​​บางครั้งมีข้อจำ​​​​​​​​​กัด​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​เรื่องของเวลา​​​​​ ​(​​​​​ถ้า​​​​​​​​​สอน​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​ชั้นเรียนปกติ​​​​​ ​​​​​และ​​​​​​​​​มีนักศึกษากลุ่ม​​​​​​​​​ใหญ่)
3) การพัฒนา (Development) กระบวนการพัฒนา​​​​​ ​​​​​ได้​​​​​​​​​แก่​​​​​ ​​​​​การนำ​​​​​​​​​สิ่งที่คิด​​​​​​​​​หรือ​​​​​​​​​ออกแบบ​​​​​​​​​ไว้​​​​​​​​​มา​​​​​​​​​ใช้​​​​​ ​​​​​ได้​​​​​​​​​แก่
การพัฒนา​​​​​​​​​เนื้อหา กรณี​​​​​​​​​ไม่​​​​​​​​​พัฒนาตำ​​​​​​​​​รา​​​​​​​​​หรือ​​​​​​​​​เอกสารประกอบการสอนเอง​​​​​ ​​​​​ก็​​​​​​​​​ใช้​​​​​​​​​วิธีการเลือกหนังสือ​​​​​​​​​หรือ​​​​​​​​​ตำ​​​​​​​​​ราที่มี​​​​​​​​​เนื้อหาสอดคล้อง​​​​​​​​​กับ​​​​​​​​​สิ่งที่ออกแบบ​​​​​​​​​ไว้
การพัฒนาสื่อ​​​​​ ที่​​​​​​​​​สามารถ​​​​​​​​​ทำ​​​​​​​​​ได้​​​​​​​​​ขณะนี้คือ​​​​​ ​​​​​สไลด์ประกอบการสอน​​​​​ ​​​​​เว็บไซต์​​​​​​​​​แหล่ง​​​​​​​​​ค้น​​​​​​​​​คว้า​​​​​​​​​เพิ่มเติม
การประ​​​​​​​​​เมิน​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​ขณะพัฒนา เป็น​​​​​​​​​กระบวนการที่สำ​​​​​​​​​คัญ ผู้​​​​​​​​​สอนมัก​​​​​​​​​ไม่​​​​​​​​​ค่อย​​​​​​​​​ได้​​​​​​​​​นำ​​​​​​​​​มา​​​​​​​​​ใช้​​​​​ ​​​​​เพราะ​​​​​​​​​มีขั้นตอนที่ยุ่งยาก​​​​​ ​​​​​อาจ​​​​​​​​​ต้อง​​​​​​​​​มี​​​​​​​​​ผู้​​​​​​​​​เชี่ยวชาญ​​​​​​​​​ช่วย​​​​​​​​​ประ​​​​​​​​​เมินตรวจสอบ​​​​​ ​​​​​หรือ​​​​​​​​​ใช้​​​​​​​​​กระบวนการวิจัยสื่อทำ​​​​​​​​​การหาประสิทธิภาพ​​​​​​​​​และ​​​​​​​​​ประสิทธิผลของสื่อ
4) การนำ​​​​​​​​​ไป​​​​​​​​​ใช้ (Implementation) คือ​​​​​ ​​​​​ขั้นตอนการนำ​​​​​​​​​แผนการสอนที่​​​​​​​​​ได้​​​​​​​​​วิ​​​​​​​​​เคราะห์​​​​​ ​​​​​ออกแบบ​​​​​ ​​​​​และ​​​​​​​​​พัฒนา​​​​​​​​​ไว้​​​​​​​​​ไป​​​​​​​​​ใช้​​​​​​​​​สอนจริง​​​​​ ​​​​​โดย​​​​​​​​​พยายามดำ​​​​​​​​​เนินการตามแผนการสอน​​​​​​​​​หรือ​​​​​​​​​ระบบการเรียนการสอนที่ออกแบบ​​​​​​​​​ไว้
5) การวัด​​​​​​​​​และ​​​​​​​​​ประ​​​​​​​​​เมินผล​​​​​ (Evaluation) กระบวนการวัด​​​​​​​​​และ​​​​​​​​​ประ​​​​​​​​​เมินผลการสอน ส่วน​​​​​​​​​ใหญ่​​​​​​​​​เป็น​​​​​​​​​ขั้นตอนการวัด​​​​​​​​​และ​​​​​​​​​ประ​​​​​​​​​เมินผลเพื่อ​​​​​​​​​เป็น​​​​​​​​​การตัดสิน​​​​​​​​​ผู้​​​​​​​​​เรียน​​​​​ (เพื่อตัดเกรด) คือ​​​​​ ​​​​​การสอบระหว่างเรียน​​​​​ ​​​​​การสอบปลายภาค​​​​​ ​​​​​การตรวจผลงาน​​​​​​​​​หรือ​​​​​​​​​โครงการที่มอบหมาย ยัง​​​​​​​​​ไม่​​​​​​​​​ได้​​​​​​​​​เน้นกระบวนการวัดผลเพื่อปรับปรุง​​​​​​​​​ผู้​​​​​​​​​เรียน​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​ขณะ​​​​​​​​​เรียน​​​​​ ​​​​​ผมคิดว่า​​​​​​​​​เป็น​​​​​​​​​กระบวนการที่สำ​​​​​​​​​คัญ​​​​​ ​​​​​เพราะ​​​​​​​​​เป็น​​​​​​​​​การประ​​​​​​​​​เมินว่าระบบการเรียนการสอนของเราว่ามีประสิทธิภาพเพียง​​​​​​​​​ใด​​​​​ ​​​​​มีข้อบกพร่อง​​​​​​​​​หรือ​​​​​​​​​ไม่​​​​​ ​​​​​ต้อง​​​​​​​​​แก้​​​​​​​​​ไขปรับปรุง​​​​​​​​​ส่วน​​​​​​​​​ใด​​​​​ แต่กระบวนการดังกล่าว​​​​​ ​​​​​อาจทำ​​​​​​​​​ได้​​​​​​​​​ค่อนข้างยาก และ​​​​​​​​​ผู้​​​​​​​​​สอน​​​​​​​​​ต้อง​​​​​​​​​ทุ่มเทเวลา​​​​​​​​​ให้​​​​​​​​​อย่างมาก
            การออกแบบระบบการเรียนการสอน (Instructional System design) มีชื่อเรียกหลากหลาย เช่น การออกแบบการเรียนการสอน (Instructional design) การออกแบบและพัฒนาการสอน (Instructional design and development) เป็นต้น ไม่ว่าชื่อจะมีความหลากหลายเพียงใด แต่ชื่อเหล่านั้นก็มากจากต้นตอเดียวกัน คือมาจากแนวคิดในการใช้กระบวนการของวิธีระบบ (system approach) 
การออกแบบการเรียนการสอนไม่ใช่การสร้างระบบใหม่
                กิจกรรมการออกแบบการเรียนการสอน (instructional  design)  นั้นไม่ใช่กิจกรรมการออกแบบและสร้างระบบการสอนขึ้นใหม่  แต่เป็นกระบวนการนำรูปแบบ (model)  ที่มีผู้คิดสร้างไว้แล้วมาใช้ตามขั้นตอน (step)  ต่าง ๆ ที่เจ้าของรูปแบบนั้นกำหนดไว้อาจจะมีคำถามว่า ถ้าไม่ได้ออกแบบระบบเอง ทำไมจึงใช้คำว่า ออกแบบการเรียนการสอน”   คำตอบที่ชัดเจนก็คือ ผู้ใช้รูปแบบ (model)   ของการสอนนั้นจำเป็นต้องออกแบบตามขั้นตอนต่าง ๆ  ของรูปแบบนั้น ๆ ทั้งนี้เนื่องจากรูปแบบ (model)  ที่มีผู้สร้างไว้ให้นั้นเป็นเพียงกรอบและแนวทางในการดำเนินงานเท่านั้น รายละเอียดต่างๆ ภายในขั้นตอนจะแตกต่างกันออกไปตามสภาพปัญหา  จุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน ลักษณะของผู้เรียน และเงื่อนไขต่าง ๆ
ความเป็นมาของการออกแบบการเรียนการสอน
                การออกแบบการเรียนการสอน (ID)   เกิดจากการใช้กระบวนการของวิธีระบบ (system  approach)  ในการฝึกทหารของกองทัพบกอเมริกันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ โดยมีความเชื่อว่า การเรียนรู้ใด ๆ ไม่ควรจะเกิดอย่างบังเอิญ แต่ควรเกิดจากการพัฒนาสิ่งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม  มีกระบวนการ มีขั้นตอน  และสามารถวัดผลจากการเรียนรู้ได้อย่างชัดเจน
ในการออกแบบการเรียนการสอนต้องอาศัยความรู้ศาสตร์ สาขาต่าง ๆ อันได้แก่  จิตวิทยาการศึกษา  การสื่อความหมาย  การศึกษาศาสตร์ทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาร่วม
ความหมายของการออกแบบการเรียนการสอน
การออกแบบการเรียนการสอน  คือ  ศาสตร์ (Science)   ในการกำหนดรายละเอียด รายการต่าง ๆ เพื่อพัฒนา การประเมินและการทำนุบำรุงรักษาให้คงไว้ของสภาวะต่าง ๆ เพื่อทำให้เกิดการเรียนรู้ ทั้งในเนื้อหาจำนวนมาก หรือเนื้อหาสั้น ๆ (Richey, 1986)

ปัญหาในระบบการเรียนการสอน
                เป้าหมายหลักของครูหรือนักฝึกอบรมในการสอน  คือการช่วยให้ผู้เขียนหรือผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เรียนรู้  และในการช่วยให้เกิดการเรียนรู้นี้มีปัญหาหลัก ๆ อยู่หลายประการที่ผู้ออกแบบการเรียนการสอนจะต้องตระหนักและพยายามหลีกเลี่ยง ปัญหาดังกล่าวคือ
1.            ปัญหาด้านทิศทาง  (Direction)
2.            ปัญหาด้านการวัดผล  (Evaluation)
3.            ปัญหาด้านเนื้อหาและการลำดับเนื้อหา  (Content  and  Sequence)
4.            ปัญหาด้านวิธีการ  (Method)
5.            ปัญหาข้อจำกัดต่าง ๆ  (Constraint)  
               ปัญหาด้านทิศทาง
ปัญหาด้านทิศทางของผู้เรียนก็คือ ผู้เรียนไม่ทราบว่าจะเรียนไปเพื่ออะไร ไม่รู้ว่าจะต้องเรียนอะไร 
ต้องสนใจจุดไหน  สรุปแล้วพูดไว้ว่าเป็นปัญหาด้านจุดมุ่งหมาย
                ปัญหาด้านการวัดผล
                ปัญหาการวัดผลนี้จะเกิดขึ้นกับทั้งผู้สอนและผู้เรียน  ผู้สอนจะมีปัญหา  เช่น จะรู้ได้อย่างไรว่าผู้เรียนของตนเกิดการเรียนรู้หรือไม่  จะรู้ได้อย่างไรว่าวิธีการที่ตนใช้อยู่นั้นใช้ได้ผลดี  ถ้าจะปรับปรุงเนื้อหาที่สอนจะปรับปรุงตรงไหน  จะให้คะแนนอย่างยุติธรรมได้อย่างไร
                ปัญหาของผู้เรียนเกี่ยวกับการวัดผลอาจเป็น  ฉันเรียนรู้อะไรบ้างจากสิ่งนี้  ข้อสอบยากเกินไป  ข้อสอบกำกวม  อื่น ๆ
                ปัญหาด้านเนื้อหา  และการลำดับเนื้อหา
                ปัญหานี้เกิดขึ้นกับครูและผู้เรียนเช่นเดี่ยวกัน  ในส่วนของครูอาจจะสอนเนื้อหาที่ไม่ต่อเนื่องกัน  เนื้อหายากเกินไป  เนื้อหาไม่ตรงกับจุดมุ่งหมาย  เนื้อหาไม่สัมพันธ์กัน  และอื่น ๆ  อีกมากมาย
                ในส่วนของผู้เรียนก็จะเกิดปัญหาเช่นเดี่ยวกับที่กล่าวข้างต้นอันเป็นผลมาจากครู
                อาจเป็นการสอนหรือวิธีการสอนของครูทำให้ผู้เรียนเบื่อหน่าย  ไม่อยากเข้าห้องเรียน  มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการเรียนสิ่งนั้น ๆ
                หรือปัญหาการสอนที่ไม่สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายที่ตั้งเอาไว้  เช่น  ตั้งเป้าหมายไว้ว่าให้ผู้เรียนสามารถใช้กล้องถ่ายวิดีโอได้อย่างชำนาญ  แต่วิธีสอนกลับบรรยายให้ฟังเฉย ๆ และผู้เรียนไม่มีสิทธิจับกล้องเลย เป็นต้น
                ปัญหาข้อจำจัดต่าง ๆ
                ในการสอนหรือการฝึกอบรมนั้นต้องใช้แหล่งทรัพยากร 3 ลักษณะ คือ บุคลากร ครูผู้สอน และสถาบันต่าง ๆ
                บุคลาการที่ว่านี้อาจจะเป็นวิทยากร  ผู้ช่วยเหลือต่าง ๆ เช่น พนักงานพิมพ์  ผู้ควบคุมเครื่องไม้เครื่องมือ  หรืออื่น ๆ
                สถาบันต่าง ๆ หมายถึง  แหล่งที่เป็นความรู้  แหล่งที่จะให้ความร่วมมือสนับสนุนต่าง ๆ อาจเป็นห้องสมุด  หน่วยงานต่าง ๆ เป็นต้น

ครูผู้สอนสามารถเลือกใช้รูปแบบการเรียนการสอนส าหรับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ได้
หลากหลายรูปแบบ  ในที่นี้จะกล่าวถึงรูปแบบ  WHERETO  ซึ่งมีรายละเอียดต่อไปนี้
W =  Where to go and what to learn จุดประสงค์การเรียนรู้
H =  Hook and Hold ดึงความสนใจ  และคงความสนใจของผู้เรียนไว้
E =  Equip, Experience and Explore กระตุ้น  ส่งเสริม  และสนับสนุนให้เกิดประสบการณ์ 
การเรียนรู้ต่อผู้เรียน
R =  Rethink and Revise เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ตรวจสอบและทบทวนความ
เข้าใจ  และตรวจทานชิ้นงานของตนเอง
E =  Evaluate (self assessment) ให้นักเรียนได้ประเมินและประยุกต์ใช้ผลงานของตนเอง
T =  (Be) tailored จัดการเรียนรู้ให้ตอบสนองต่อความต้องการ ความสนใจ 
และความสามารถของผู้เรียนที่มีความแตกต่างกัน
O =  (Be) organized การบริหารจัดการชั้นเรียนอย่างเหมาะสม  สอดคล้อง
และสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีความหมาย  และให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมสนับสนุนให้เกิดประสบการณ์  การเรียนรู้ต่อผู้เรียน


ขั้นตอนที่  1  ระบุเป้าหมายการเรียนรู้ที่ต้องการ  (Identified Desired Results)
R =  Rethink and Revise เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ตรวจสอบและทบทวนความเข้าใจ  และตรวจทานชิ้นงานของตนเอง
E =  Evaluate (self assessment) ให้นักเรียนได้ประเมินและประยุกต์ใช้ผลงานของตนเอง
ขั้นตอนที่  2  ก าหนดการประเมินผล  และหลักฐานที่แสดงว่าผู้เรียนบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้
(Assessment and Acceptable Evidence)
T =  (Be) tailored จัดการเรียนรู้ให้ตอบสนองต่อความต้องการ ความสนใจ  และความสามารถของผู้เรียนที่มีความแตกต่างกัน
O =  (Be) organized การบริหารจัดการชั้นเรียนอย่างเหมาะสม  สอดคล้องและสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีความหมาย  และให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม
ขั้นตอนที่  3  ก าหนดประสบการณ์การเรียนรู้  และการจัดการเรียนการสอน(Learning Experience and Instruction)
ในการกำหนดแนวทางวางแผนจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในหน่วยการเรียน  (Developing the Learning
Unit)  โดยใช้กระบวนการ  Backward Design  มีขั้นตอนการด าเนินงาน  5  ขั้นตอน  ดังนี้
ขั้นที่  1  ระบุเป้าหมายที่ต้องการ
 1  สิ่งที่ผู้เรียนต้องรู้และปฏิบัติได้  ครูผู้สอนต้องระบุความรู้  และทักษะความต้องการให้เกิดแก่
ผู้เรียนในหน่วยการเรียนรู้นี้  เช่น  ข้อเท็จจริง    ความคิดรวบยอดของหลักการ  ทักษะกระบวนการ 
 2  ความเข้าใจที่คงทน  ( Enduring Understanding)  ระบุความเข้าใจที่เป็นความคิดรวบยอดซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของหน่วยการเรียนรู้  และมีคุณค่าที่ผู้เรียนสามารถน าไปใช้นอกห้องเรียน  และสามารถเชื่อมโยงไปยังกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
 3  คำถามสำคัญ   (Essential Questions)   ค าถามที่ผู้สอนถามเพื่อชี้น าผู้เรียนให้เข้าใจในแนวคิดที่
สำคัญของหน่วยการเรียนรู้  โดยคำนึงถึงความต้องการจำเป็นที่ผู้เรียนควรรู้  และเป็นคำถามที่ผู้สอนถาม
ตนเองว่าควรจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างไรที่ช่วยให้ผู้เรียนบรรลุตามเป้าหมายของหน่วยการเรียนรู้
ขั้นที่  2  กำหนดร่องรอยหลักฐานที่แสดงว่าผู้เรียนบรรลุตามเป้าหมายที่ต้องการ
ในขั้นตอนนี้  ผู้สอนต้องรวบรวมหลักฐานที่แสดงให้รู้ว่าผู้เรียนบรรลุตามเป้าหมายที่ก าหนดไว้ในหน่วยการเรียนรู้
 รูปแบบและวิธีการประเมิน  มีดังนี้
1)  การประเมินก่อน-หลังการเรียนรู้ 
2)  การตรวจสอบความรู้อย่างไม่เป็นทางการ 
3)  การสังเกต/พูดคุย 
4)  การทดสอบ  9
5)  การกำหนดโจทย์หรือประเด็นปัญหาที่ให้ผู้เรียนคิด 
6)  การลงมือปฏิบัติ/โครงการ 
7)  ผู้เรียนประเมินตนเอง 
8)  แฟ้มสะสมงาน
ขั้นที่  3  วางแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้  และการเรียนการสอน
ในขั้นตอนนี้ครูผู้สอนต้องวางแผนการก าหนดกิจกรรมการเรียนรู้   (Learning Activities)
รายละเอียดการจัดประสบการณ์การเรียนที่ช่วยให้ผู้เรียนบรรลุตามเป้าหมายการเรียนรู้ก าหนด
ขั้นที่  4 น าหน่วยการเรียนรู้ที่จัดท าขึ้นไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน
 ครูผู้สอนควรบันทึกผลหลังการสอน ( Evaluation Journal)โดยบันทึกร่องรอยหลักฐานที่เกิดจาก
การประเมินผล กิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ ขณะที่ผู้เรียนปฏิบัติตามกิจกรรมการเรียนรู้ ผู้สอนต้องสังเกตการ
มีส่วนร่วมของผู้เรียน ความก้าวหน้า หรือปัญหาในการเรียนรู้และวิธีการเรียนรู้ของผู้เรียน เป็นต้น
ขั้นที่  5  ทบทวน  แก้ไข  และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
 ครูผู้สอนใช้ข้อมูลใน การบันทึกผลหลังการสอนเพื่อประเมินว่า  กิจกรรมการเรียนรู้ที่จัดขึ้นช่วยให้
ผู้เรียนบรรลุเป้าหมายหรือไม่  ครูผู้สอนได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามความต้องการ  จ าเป็นต่อผู้เรียนหรือไม่ 
ขั้นตอนนี้ควรท าอย่างต่อเนื่องเพราะต้องน าข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในครั้ง
ต่อไป
 จะเห็นได้ว่าสิ่งส าคัญที่ครูผู้สอนต้องก าหนดในการวางแผนเพื่อท าแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้
กระบวนการ  Backward Design มี 3 ประการ ดังนี้
 1. ความคิดหลัก ( Big Ideas)  คือ ทฤษฎี  หลักการ  กระบวนการที่สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้
หลักสูตร  การจัดกิจกรรมการเรียนรู้  และการประเมินผล
 2. ความเข้าใจที่คงทน ( Enduring Understanding)  ความรู้และทักษะที่ติดตัวผู้เรียน  ผู้เรียนสามารถ
น าไปใช้ในสถานการณ์ใหม่  ใช้เชื่อมโยงกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น  และน าไปใช้ในชีวิตจริงได้
 3. ค าถามส าคัญ ( Essential Questions)   คือ  ค าถามที่ใช้ตรวจสอบว่าผู้เรียนมีเข้าใจที่คงทนหรือไม่ 
ค าถามส าคัญช่วยให้ผู้เรียนเชื่อมโยงข้อเท็จจริงกับแนวคิดที่น าเสนอในหน่วยการเรียน
จุดเด่นของการออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบ  Backward Design คือ
 1.  การน าแนวทางวัดผลมาเป็นหลักในการออกแบบการเรียนรู้
 2.  การบูรณาการความรู้  ช่วยลดภาระครูผู้สอน
 3.  สามารถน าสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นมาออกแบบการเรียนรู้แบบ   Backward Design

การจัดการเรียนการสอนแบบซิปปา

http://suradach.igetweb.com/article/art_577892.gifความหมายของการจัดการเรียนการสอนแบบซิปปา
การจัดการเรียนการสอนแบบซิปปา เป็นรูปแบบของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้รูปแบบหนึ่งที่ได้รับความสนใจ และมีนักศึกษาหลายท่านได้ให้คำจำกัดความของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางแบบซิปปา (กรมวิชาการ. 2538 : 1-2 ; สุรางค์ เจริญสุข. 2540 : 6 ; วัฒนาพรระงับทุกข์. 2542 : 8 ; สุพล วังสินธ์. 2542 : 8 ; และทิศนา แขมมณี และคณะ. 2542 : 14-15) มีรายละเอียดของรูปแบบดังนี้
C หมายถึง Construction คือ การให้ผู้เรียนสร้างความรู้ได้ด้วยตนเอง โดยกระบวนการแสวงหาข้อมูล ทำความเข้าใจ คิดวิเคราะห์ ตีความ แปลความ สร้างความหมายสังเคราะห์ข้อมูลและสรุปเป็นข้อความรู้
  I หมายถึง Interaction คือ การให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน เรียนรู้ จากกัน แลกเปลี่ยนข้อมูลความคิด และประสบการณ์แก่กันและกัน
P หมายถึง Participation คือ การให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทั้งในด้านร่างกาย อารมณ์ ปัญญา และสังคม ในการเรียนรู้ให้มากที่สุด
   P หมายถึง Process and Product คือ การให้ผู้เรียนได้เรียนรู้กระบวนการ และมีผลงานจากการเรียนรู้
A หมายถึง Application คือ การให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
การจัดการเรียนการสอนแบบซิปปา คือ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางแบบประสาน 5 แนวคิดหลัก คือ
1. แนวคิดการสรรค์สร้างความรู้ (Constructivism)
2. แนวคิดเรื่องกระบวนการกลุ่มและการเรียนแบบร่วมมือ (Group Process and Cooperative Learning)
3. แนวคิดเกี่ยวกับความพร้อมในการเรียนรู้ (Learning Readiness)
4. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้กระบวนการ (Process Learning)
5. แนวคิดเกี่ยวกับการถ่ายโอนการเรียนรู้ (Transfer of Learning)

หลักการออกแบบการจัดการเรียนการสอนแบบซิปปา
จากแนวคิดดังกล่าวข้างต้น นำไปสู่หลักการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนแบบซิปปา ดังนี้ (ทิศนา แขมมณี และคณะ. 2542 : 2-5)
1. เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา สังคม และอารมณ์ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเข้าร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างทั่วถึงและมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ การที่ผู้เรียนมีบทบาทเป็นผู้กระทำจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความพร้อมและกระตือรือร้นที่จะเรียนอย่างมีชีวิตชีวา กิจกรรมที่จัดจึงควรเป็นกิจกรรมที่มีลักษณะดังนี้
1.1 ช่วยให้ผู้เรียนได้เคลื่อนไหวในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง เป็นระยะ ๆ เหมาะสมกับวัยและความสนใจของผู้เรียน
1.2 มีประเด็นท้าทาย ให้ผู้เรียนได้คิดเป็นประเด็นที่ไม่ยากหรือง่ายเกินไป เหมาะสมกับวัยและความสามารถของผู้เรียน เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดหรือลงมือทำเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
1.3 ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากบุคคลหรือสิ่งแวดล้อมรอบตัว
1.4 ส่งผลต่ออารมณ์ ความรู้สึกของผู้เรียน เกี่ยวข้องกับชีวิตประสบการณ์และความเป็นจริงของผู้เรียน
2. ยึดกลุ่มเป็นแหล่งความรู้ที่สำคัญ โดยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสได้ปฏิสัมพันธ์กันในกลุ่ม ได้พูดคุย ปรึกษาหารือ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมของตนเองและผู้อื่น และจะปรับตัวให้สามารถอยู่ในสังคมร่วมกับผู้อื่นได้
3. ยึดการค้นพบด้วยตนเองเป็นวิธีการสำคัญ โดยครูผู้สอนพยายามจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ค้นหาคำตอบด้วยตนเอง ทั้งนี้ เพราะการค้นพบความจริงใด ๆ ด้วยตนเองนั้น ผู้เรียนมักจะจดจำได้ดีและมีความหมายโดยตรงต่อผู้เรียน รวมทั้งเกิดความคงทนในการเรียนรู้
4. เน้นกระบวนการ (Process) ควบคู่ไปกับผลงาน (Product) โดยการส่งเสริมให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์ถึงกระบวนการต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดผลงาน มิใช่มุ่งจะพิจารณาถึงผลงานแต่เพียงอย่างเดียว ทั้งนี้เพราะประสิทธิภาพของผลงานนี้ขึ้นอยู่กับประสิทธิผลของกระบวนการ
5. เน้นการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้หรือใช้ในชีวิตประจำวัน โดยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสคิดหาแนวทางที่จะนำความรู้ความเข้าใจไปใช้ในชีวิตประจำวัน พยายามส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติจริง และพยายามติดตามผลการปฏิบัติของผู้เรียน
หลักการจัดกระบวนการเรียนการสอนแบบซิปปา
ทิศนาแขมมณีและคณะ(2542 : 6 –7) ได้เสนอหลักการในการจัดการเรียนการสอนแบบซิปปาไว้ว่ากิจกรรมการเรียนการสอนควรมีคุณสมบัติดังนี้
1. ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยตนเอง (Construct)
2. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้มากที่สุด (Participation)
3. ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความคิดข้อความรู้ ตลอดจนถึงการเรียนรู้จากกันและกัน (Interaction)
4. ผู้เรียนได้เรียนรู้กระบวนการควบคู่กันไปกับผลงาน (Process& Product)
5. ผู้เรียนได้นำความรู้ไปใช้ได้ (Application)
กระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางนี้มีตัวบ่งชี้การเรียนของนักเรียน 9 ข้อและตัวบ่งชี้การสอนของครู10 ข้อ(สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2541 : 10)
ตัวบ่งชี้การเรียนของนักเรียน
1. นักเรียนมีประสบการณ์ตรงกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2. นักเรียนฝึกปฏิบัติจนค้นพบความถนัดและวิธีการของตนเอง
3. นักเรียนทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกลุ่ม
4. นักเรียนฝึกหัดอ่านหลากหลาย และสร้างสรรค์จินตนาการ ตลอดจนได้แสดงออกอย่างชัดเจนและมีเหตุผล
5. นักเรียนได้รับการเสริมแรงให้ค้นหาคำตอบแก้ปัญหาทั้งด้วยตนเองและร่วมด้วยช่วยกัน
6. นักเรียนได้ฝึกฝนรวบรวมข้อมูลและสร้างสรรค์ความรู้ด้วยตนเอง
7. นักเรียนเลือกทำกิจกรรมตามความสามารถความถนัดและความสนใจของตนเองอย่างมีความสุข
8. นักเรียนฝึกตนเองให้มีวินัยและรับผิดชอบในการทำงาน
9. นักเรียนฝึกประเมินปรับปรุงตนเองและยอมรับผู้อื่นตลอดจนใฝ่หาความรู้อย่างต่อเนื่อง
ตัวบ่งชี้การสอนของครู
1. ครูเตรียมการสอนทั้งเนื้อหาและวิธีการ
2. ครูจัดสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศที่ปลุกเร้าจูงใจและส่งเสริมแรงให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้
3. ครูเอาใจใส่นักเรียนเป็นรายบุคคลและแสดงความเมตตาต่อนักเรียนอย่างทั่วถึง
4. ครูจัดกิจกรรมและสถานการณ์ให้นักเรียนได้แสดงออกและคิดอย่างสร้างสรรค์
5. ครูส่งเสริมให้นักเรียนฝึกหัดฝึกทำและฝึกปรับปรุงตนเอง
6. ครูส่งเสริมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกลุ่มพร้อมทั้งสังเกตส่วนดีและปรับปรุงส่วนด้อยของนักเรียน
7. ครูใช้สื่อการสอนเพื่อฝึกความคิดการแก้ปัญหาและการค้นพบความรู้
8. ครูใช้แหล่งเรียนรู้หลากหลายและเชื่อมโยงประสบการณ์ชีวิตจริง
9. ครูฝึกฝนกิริยามารยาทและวินัยตามวิถีวัฒนธรรมไทย
10. ครูสังเกตและประเมินพัฒนาการของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง
จากตัวบ่งชี้การสอนของครูทั้ง10 ข้ออาจสรุปได้ว่าครูผู้สอนจะต้องเปลี่ยนบทบาทจากผู้สอนมาเป็นผู้อำนวยความสะดวก(Facilitator) คือเป็นผู้จัดประสบการณ์และจัดสื่อการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนใช้เป็นแนวทางในการสร้างสรรค์ความรู้ด้วยตนเอง
รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบซิปปา
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบซิปปามีหลายรูปแบบซึ่งแต่ละรูปแบบจะมีระดับบทบาทของครูและผู้เรียนมากน้อยต่างกันไปดังนี้(วัฒนาพรระงับทุกข์. 2542 : 11; สุรางค์เจริญสุข. 2540 : 7) สามารถจัดได้3 รูปแบบดังนี้
แบบที่1 Student – Centered Class
ครูเป็นผู้เตรียมเนื้อหาสื่อการเรียนวัสดุอุปกรณ์นักเรียนเป็นผู้ดำเนินกิจกรรมตามคำแนะนำของครูซึ่งส่วนใหญ่จะทำในรูปแบบของกิจกรรมที่เป็นคู่เป็นกลุ่ม
แบบที่2 Learner –Based Teaching
ครูจะเป็นผู้กระตุ้นมอบหมายให้ผู้เรียนค้นคว้าผลิตสื่อการเรียนด้วยตนเองซึ่งจะใช้ได้ดีกับการเรียนภาษาต่างประเทศ เพราะผู้เรียนจะได้ฝึกทักษะทางภาษาได้เป็นสองเท่าทั้งในขณะที่เตรียมและฝึก
แบบที่3 Learner Independence
ผู้เรียนจะศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองในห้องศูนย์การเรียน มีอิสระจากห้องเรียนปกติ สามารถเลือกทำงานตามความสามารถ ความสนใจและความถนัดของผู้เรียนอาจเรียนคนเดียว หรือเรียนเป็นคู่เป็นกลุ่มกับเพื่อนก็ได้
วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบซิปปา
ขั้นที่1 วิเคราะห์จุดประสงค์การเรียนรู้
ต้องการให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมใดในระดับใด
ขั้นที่2 วิเคราะห์ผู้เรียน
มีความสามารถความสนใจและวิธีเรียนอย่างไร
ขั้นที่3 เลือกเทคนิควิธีการสอน
หลากหลายสนองผู้เรียนโดยพิจารณาจาก
- จุดเด่นในการเสริมสร้างทักษะข้อความรู้และพฤติกรรม
- ประสิทธิผลในการสร้างทักษะข้อความรู้ประสบการณ์
- โอกาสในการแสดงบทบาทการเรียนรู้ของผู้เรียน
ขั้นที่4 ปรับและเรียบเรียงเทคนิค
ให้เหมาะสมกับจุดมุ่งหมายกระบวนการเรียนการสอนและผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน

รูปแบบการสอนโดยใช้รูปแบบจำลอง ASSURE 

การใช้รูปแบบการสอน แบบ ASSURE เป็นวิธีระบบรูปแบบหนึ่งที่นำมาจากแนวคิดของไชน์พิชและคณะ (1993) โดยมีระบบการดำเนินงานตามลำดับขั้นดังนี้

A = ANALYZE LEARNER'S CHARACTERISTICS การวิเคราะห์ผู้เรียน ที่สำคัญได้แก่ การวิเคราะห์พฤติกรรมเบื้องต้นและความต้องการของผู้เรียน ทั้งในด้าน
1. ข้อมูลทั่วไป เช่น อายุ เพศ ระดับการศึกษา เจตคติ ระบบสังคม วัฒนธรรม
2. ข้อมูลเฉพาะ ซึ่งเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการเรียนการสอน เช่น ประสบการณ์เดิม ทักษะ เจตคติ ความรู้พื้นฐาน และความสามารถในบทเรียนนั้นเพียงใด การวิเคราะห์จะช่วยให้ผู้สอน สามารถตัดสินใจเลือกสื่อและจุดมุ่งหมายการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม

S = STATE LEARNING OBJECTIVES AND CONTENT

การกำหนดจุดมุ่งหมาย จุดมุ่งหมายการเรียนที่ดี ควรเป็นข้อความที่แสดงลักษณะ สำคัญ 3 ประการคือ

1. วิธีการปฏิบัติ PERFORMANCE (ทำอะไร) การเขียนจุดมุ่งหมายควรใช้คำกริยาหรือข้อความที่สังเกตพฤติกรรมได้ เช่น ให้คำจำกัดความ อธิบาย บอก หรือจำแนก เป็นต้น
2. เงื่อนไข CONDITIONS (ทำอย่างไร) การเขียนจุดมุ่งหมายการเรียน ควรกำหนดเงื่อนไขที่จำเป็นภายใต้การปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ การกำหนดเงื่อนไข เช่น บวกเลขในใจโดยไม่ใช้กระดาษวาด หรือ ผสมแป้งโดยใช้ช้อน เป็นต้น
3. เกณฑ์ CRITERIA (ทำได้ดีเพียงไร) มาตรฐานการปฏิบัติซึ่งควรตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง เช่นระดับของความสามารถในการปฏิบัติ ระดับของความรู้ที่จำเป็น เพื่อการศึกษาต่อในหน่วยการเรียนที่สูงขึ้นไป

S = SELECT, MODIFY OR DESIGN MOTHODS AND MATERIALS การกำหนดสื่อการเรียนการสอน อาจดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งใน 3 ประการดังนี้ คือ

1. การเลือกใช้สื่อการเรียนการสอน
2. ดัดแปลงจากสื่อวัสดุที่มีอยู่แล้ว
3. การออกแบบสื่อใหม่

U = UTILIZE METHODS AND MATERIALS กิจกรรมการใช้สื่อการเรียนการสอน พิจารณาได้ 3 ลักษณะคือ
1. การใช้สื่อประกอบการสอนของผู้สอน เช่น ประกอบคำบรรยาย และอธิบาย
2. การใช้สื่อเป็นกิจกรรมการเรียนการสอนของผู้เรียน เช่น ชุดการสอน บทเรียนด้วยตนเอง
3. การใช้สื่อร่วมกันระหว่างผู้เรียนและผู้สอน เช่น เกม สถานการณ์จำลอง และการสาธิต การมีส่วนร่วมของผู้เรียน การใช้สื่อการเรียนการสอนควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมี ส่วนร่วมหรือได้ลงมือกระทำร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนได้มากที่สุด

R = REQUIRE LEARNER'S RESPONSE การกำหนดพฤติกรรมตอบสนองของผู้เรียน การเรียนรู้จะเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพที่สุดนั้น ผู้เรียนจะต้องมีปฏิกิริยาตอบสนองและมีการเสริมแรง สำหรับการพฤติกรรมการตอบสนองที่ถูกต้องอยู่เสมอ เช่น การให้สังเกตไปจนถึงการให้ทำโครงการหรือออกแบบสิ่งของต่าง ๆ การที่ผู้สอนให้ข้อมูลย้อนกลับทันทีต่อการตอบสนองของผู้เรียน จะทำให้แรงจูงใจในการเรียนและการเสริมแรงมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

E = EVALUATION การประเมินผล ควรพิจารณาทั้ง 3 ด้านคือ

1. การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

2. การประเมินสื่อและวิธีใช้

3. การประเมินกระบวนการเรียนการสอน
แผนภาพ  รูปแบบของ ASSURE MODEL
การออกแบบการสอน  วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1

 ความหมายของการออกแบบ หมายถึง การนำความรู้ทางทฤษฎี มาจัด รูปแบบในการจัดดำเนินงาน หรือวางแผนระบบการเรียนการสอนและทรัพยากรการเรียน ดังนั้น การออกแบบจึงช่วยให้ได้แผนงานหรือรูปแบบการดำเนินงาน ด้วยความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับงาน

 การออกแบบการสอน เป็นการวางแผนการสอนโดยใช้วิธีระบบจุดเริ่ม ของการออกแบบการสอน ก็คือ การพิจารณาองค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบและพิจารณาสภาพทั่วไปเกี่ยวกับการเรียนการสอน ดังนั้น การออกแบบระบบการสอนจึงต้องพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ด้วยการตอบคำถามสำคัญ 4 ประการ ดังนี้

1. โปรแกรมการสอนนี้ จะออกแบบสำหรับใคร สำหรับ ผู้เรียน ดังนั้น ขั้นแรกจึงต้องศึกษา คุณลักษณะของผู้เรียน ตัวอย่างเช่น
       1.  ให้นักเรียนทุกคนทำแบบทดสอบก่อนเรียนเรื่อง  การจำแนกสารรอบตัว 
       2.   ให้นักเรียนสังเกตและร่วมกันอภิปรายลักษณะของสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบ ๆ ตัวเราโดยใช้ทักษะการสังเกต ครูถามนำว่า สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบ ๆ ตัวเรานั้นมีสมบัติเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
       3.    ครูถามนักเรียนว่า เนื่องจากสารที่อยู่รอบตัวเรามีอยู่มากมาย เราจะแยกประเภทหรือระบุชนิดของสารได้อย่างไร
       4.   ครูยกตัวอย่างสารบางชนิด เช่น ส้มตำ น้ำเกลือ โซเดียมคลอไรด์ แล้วถามนักเรียนว่าเป็นสารประเภทใด
       5.   นักเรียนช่วยกันคาดเดาคำตอบ
2. ต้องการให้ผู้เรียนเรียนรู้อะไร หรือมีความสามารถที่จะทำอะไรได้บ้าง  
จุดประสงค์การเรียนรู้
ด้านความรู้
        1.  บอกความหมายของสสาร สาร สมบัติของสาร และการจำแนกสารได้
        2.  อธิบายสมบัติทางกายภาพของสารได้
        3.  จำแนกสารตามลักษณะของเนื้อสารได้
 ด้านทักษะกระบวนการ
        กระบวนการสืบเสาะ หาความรู้
ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์
         ความสนใจใฝ่รู้  ความมุ่งมั่น  อดทน  
3. เนื้อหาวิชาหรือทักษะต่าง ๆ ที่ผู้เรียนจะต้องศึกษาให้บรรลุจุดมุ่งหมายของการเรียนนั้นจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดอย่างไร
กระบวนการจัดการเรียนรู้  (กระบวนการวิทยาศาสตร์)
1.  ขั้นกำหนดปัญหาและสมมุติฐาน
        1.1   ให้นักเรียนทุกคนทำแบบทดสอบก่อนเรียนเรื่อง  การจำแนกสารรอบตัว 
        1.2   ให้นักเรียนสังเกตและร่วมกันอภิปรายลักษณะของสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบ ๆ ตัวเราโดยใช้ทักษะการสังเกต ครูถามนำว่า สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบ ๆ ตัวเรานั้นมีสมบัติเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
        1.3      ครูถามนักเรียนว่า เนื่องจากสารที่อยู่รอบตัวเรามีอยู่มากมาย เราจะแยกประเภทหรือระบุชนิดของสารได้อย่างไร
        1.4      ครูยกตัวอย่างสารบางชนิด เช่น ส้มตำ น้ำเกลือ โซเดียมคลอไรด์ แล้วถามนักเรียนว่าเป็นสารประเภทใด
        1.5      นักเรียนช่วยกันคาดเดาคำตอบ
 2.  ขั้นทดลอง
        2.1 แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน ให้นักเรียนเก่ง-อ่อน ชาย-หญิงคละกัน
        2.2 ให้แต่ละกลุ่มศึกษาขั้นตอนวิธีการทดลอง กิจกรรมในใบงาน เรื่อง การจำแนกสารตามลักษณะเนื้อสาร พร้อมทั้งจัดเตรียมอุปกรณ์การทดลองให้พร้อม โดยครูต้องคอยดูแลให้คำปรึกษาและความช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด
        2.3 ก่อนการทดลองครูแนะนำว่า ในการสังเกตสิ่งต่าง ๆ ถ้าสารบางชนิดไม่อาจตัดสินได้ทันทีแล้ว อาจใช้อุปกรณ์อื่น ๆ ช่วย เช่น แท่งแก้วสำหรับคน
 3.  ขั้นวิเคราะห์และอภิปรายผล
        3.1นักเรียนลงมือทดลองโดยใช้วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นตามขั้นตอนที่กำหนดและบันทึกข้อมูลการทดลอง
        3.2แต่ละกลุ่มดำเนินการทดลองตามวิธีการในหนังสือเรียน เก็บรวบรวมข้อมูลและบันทึกผลการทดลอง
       3.3 เมื่อทำการทดลองเสร็จแล้ว แต่ละกลุ่มช่วยกันเขียนรายงานการทดลอง
 4.  นักเรียนวิเคราะห์และสรุปผลการทดลอง
       4.1 แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมานำเสนอผลการทดลองหน้าชั้นเรียน
       4.2 ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปผลการทดลอง โดยให้ได้ข้อสรุปดังนี้
                 - สิ่งที่นำมาสังเกตลักษณะเนื้อสารพิจารณาแล้วมีสถานะเป็นของแข็งอยู่ 7 ชนิด มีสถานะเป็นของเหลวอยู่ 3 ชนิด และมีสถานะเป็นทั้งของแข็งและของเหลวอยู่ 3 ชนิด แต่ถ้าเราพิจารณาโดยใช้ลักษณะเนื้อสารเป็นเกณฑ์พบว่า สารที่สังเกตเห็นเป็นเนื้อเดียวมีอยู่ 9 ชนิด และที่สังเกตเห็นไม่เป็นเนื้อเดียวมีอยู่ 4 ชนิด
 5.  ครูและนักเรียนอภิปรายผลการทดลอง และสรุปการเรียนรู้
      5.1 ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายผลการทดลองโดยใช้แนวคำถาม ดังนี้
                 -    สารที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้มีกี่สถานะ อะไรบ้าง
                 -     ถ้าผสมน้ำเกลือกับน้ำส้มสายชูเข้าด้วยกันจะเรียกว่าเป็นสารเนื้อเดียวหรือสารเนื้อผสม
                 -     สารที่ใช้ในการทดลองที่มองเห็นไม่เป็นเนื้อเดียว เช่น ลอดช่องน้ำกะทิ ส้มตำ เราเรียกสารนี้ว่าอะไร
                 -     ให้นักเรียนยกตัวอย่างสารเนื้อเดียวที่ไม่มีในกิจกรรมมา 3 ชนิด บอกว่าอยู่ในสถานะใด
      5.2      ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปผลการเรียนรู้ โดยให้ได้ข้อสรุปดังนี้
                 -     สารที่อยู่รอบตัวเรามีสถานะต่าง ๆ กัน
                 -     ในการจำแนกสาร ถ้าใช้ลักษณะเนื้อสารเป็นเกณฑ์ จะจำแนกได้เป็น 2 พวก  คือสารเนื้อเดียว และสารเนื้อผสม
                 -     สารเนื้อเดียวมองเห็นเป็นเนื้อเดียว อาจจะประกอบด้วยสารอย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ได้สารเนื้อผสมมองเห็นไม่เป็นเนื้อเดียวประกอบด้วยสารมากกว่าหนึ่งอย่าง
      5.3 ครูอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำจำกัดความของ สสาร สาร สมบัติของสารและการจำแนกสารรอบตัว โดยเปิดโอกาสให้นักเรียนซักถามปัญหาหรือแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม
      5.4 ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปสาระสำคัญเรื่องสมบัติของสารและการจำแนกที่ได้จากการเรียนและการปฏิบัติกิจกรรม
      5.5  ให้นักเรียนทำแบบฝึกหัด
4. จะรู้ได้อย่างไรว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้หรือไม่ หรือเกิดการเรียนรู้มากน้อยเพียงใด 
 การวัดผลประเมินผล
1. วิธีการวัด
       1.   ตรวจแบบฝึกหัด
       2.   สังเกตทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
       3.   สังเกตการทำงานกลุ่ม
       4.   ประเมินผลปฏิบัติการทดลอง
การออกแบบสื่อ

องค์ประกอบที่สำคัญในการเรียนการสอนคือสิ่งที่ครูมักนำไปประกอบการเรียนการสอนนั่นก็คือ สื่อการสอนนั่นเอง สื่อการสอนนับว่ามีประโยชน์มากเพราะสื่อการสอนเปรียบเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้เข้าใจในเนื้อหาและได้เห็นภาพได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้นมากกว่าที่ครูผู้สอนจะสอนโดยการมาบรรยายหรือสอนตามเนื้อหา โดยไม่มีอุปกรณ์ช่วยสอนเลย

สื่อการสอน

คือ การนำสื่อมาใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งเป็นการนำวัสดุ เครื่องมือและวิธีการมาประกอบในการถ่ายทอดความรู้และเนื้อหาไปยังผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ในสิ่งที่ครูได้ถ่ายทอด รวมไปถึงมีความเข้าใจตรงตามเนื้อหา นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ง่ายยิ่งขึ้น และช่วยประหยัดเวลา



วิธีระบบกับการออกแบบสื่อการเรียนการสอน

เป็นวิธีการนำเอาผลที่ได้ ซึ่งเรียกกันว่า ข้อมูลย้อนกลับ (Feed Back) จากผลผลิตหรือการประเมินผล มาพิจารณาปรับปรุงแก้ไข่ ระบบให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การพิจารณาแก้ไขนั้นอาจจะแก้ไขสิ่งที่ป้อนเข้าไปหรือที่ขบวนการก็แล้วแต่เหตุผลที่คิดว่าถูกต้อง แต่ถ้าปรับปรุงแล้วอาจจะได้ผลออกมาไม่เป็นที่พอใจอีกก็ต้องนำผลนั้นมาปรับปรุงแก้ไขใหม่ ต่อเนื่องกันไป จนเป็นที่พอใจ ฉะนั้นจะเห็นว่าวิธีระบบเป็นขยายการต่อเนื่องและมีลักษณะเช่นเดียวกันวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ข้อสำคัญอีกประการหนึ่งของการวิเคราะห์ระบบ ก็คือ บุคคลที่จะทำการวิเคราะห์ระบบนั้น ควรจะเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องในระบบมาพิจารณาร่วมกันระบบการการเรียนการสอนระบบการสอนประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญๆ คือ

1. เนื้อหาหรือวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม จะต้องมีความสัมพันธ์สอดคล้องกัน

2. พิจารณาพฤติกรรมพฤติกรรมเบื้องต้นของผู้เรียน คือ ต้องทราบพื้นฐาน ความรู้เดิมของผู้เรียน ก่อนที่จะสอนเนื้อหาต่อไป เพื่อจะได้จัดเนื้อหาให้เหมาะสมกับผู้เรียน

3. ขั้นตอนการสอน วิธีการสอน และปัจจัยต่างๆ ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ได้ดี
4. การประเมินผล เพื่อตรวจสอบการดำเนินการเรียนการสอน

5. วิเคราะห์ผลและปรับปรุงข้อบกพร่องของระบบการเรียนการสอน ดังกล่าว แสดงได้ดังนี้
เอ็ดการ์ เดล จำแนกประสบการณ์ทางการศึกษา เรียงลำดับจากประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมไปสู่ประสบการณ์ที่เป็นนามธรรม โดยยึดหลักว่า คนเราสามารถเข้าใจสิ่งที่เป็นรูปธรรมได้ดีและเร็วกว่าสิ่งที่เป็นนามธรรมซึ่งเรียกว่า "กรวยแห่งประสบการณ์" (Cone of Experiences) ซึ่งมีทั้งหมด 10 ขั้น ดังแผนภาพต่อไปนี้



ระบบการเรียนการสอนของเกอร์ลาชและอีลี
เกอร์ลาช และอีลี (Gerlach; & Ely. 1971)
 ได้นำเสนอองค์ประกอบของระบบการเรียนการสอนออกเป็น 10 ประกอบ คือ
1.
 การกำหนดวัตถุประสงค์ เป็นจุดเริ่มต้นของระบบการเรียนการสอน วัตถุประสงค์ที่กำหนดขึ้นควรเป็นวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมหรือวัตถุประสงค์เฉพาะที่ผู้เรียนสามารถปฏิบัติได้ ครูสามารถวัดและสังเกตได้
2.
 การกำหนดเนื้อหา เป็นการเลือกเนื้อหาเพื่อนำมาช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และบรรลุวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ตั้งไว้
3.
 การประเมินผลพฤติกรรมเบื้องต้น เป็นขั้นตอนของการศึกษาข้อมูลของผู้เรียนว่ามีความรู้พื้นฐานเพียงพอที่จะเรียนเนื้อหาสาระที่กำหนดไว้ได้หรือไม่ ทั้งนี้จะได้เริ่มต้นสอนให้เหมาะสมกับระดับความรู้ความสามารถของผู้เรียน
4.
 การกำหนดกลยุทธ์การสอน ยุทธศาสตร์การสอนที่เกอร์ลาช และอีลี เสนอไว้มี 2 แบบ คือ
4.1
 การสอนแบบป้อน เป็นการสอนที่ครูจะเป็นผู้ป้อนความรู้ต่าง ๆ ทั้งหมดให้กับผู้เรียน
4.2
 การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ เป็นการสอนที่ครูจะมีบทบาทเป็นเพียงแต่ผู้เตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เพื่อการเรียนรู้ และจัดสภาพการณ์การเรียนรู้เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์
5.
 การจัดแบ่งกลุ่มผู้เรียน เป็นการจัดกลุ่มเพื่อให้ได้เรียนรู้ร่วมกัน วัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน จะทำให้เราสามารถจัดกลุ่มผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม
6.
 การกำหนดเวลาเรียน จะขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ เนื้อหา สถานที่ การบริการ และความสามารถ ตลอดจนความสนใจของผู้เรียน
7.
 การจัดสถานที่เรียน ห้องเรียนปกติโดยทั่วไปจะมีผู้เรียนประมาณ 30–40 คน ซึ่งนับว่าเหมาะสมกับการสอนแบบบรรยาย แต่อาจจะไม่เหมาะสมกับการสอนที่ใช้ยุทธศาสตร์แบบอื่น ๆ ด้วยเหตุนี้ห้องเรียนควรจะมีหลายขนาด
8.
 การเลือกวัสดุการสอนที่เหมาะสม ครูควรจะรู้จักเลือกสื่อและแหล่งวิทยาการที่เหมาะสม เพื่อนำมาใช้ในการเรียนการสอนกับยุทธศาสตร์การสอนที่ต่างกัน
9.
 การประเมินผลพฤติกรรม เป็นการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อตรวจสอบดูว่าผู้เรียนได้รับความรู้ หรือมีความเปลี่ยนแปลงไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เพียงใด
10.
 การวิเคราะห์ข้อมูลย้อนกลับ เป็นการพิจารณาเพื่อตรวจสอบหาข้อบกพร่องเพื่อปรับปรุงแก้ไขต่อไป
องค์ประกอบของระบบการเรียนการสอนของเกอร์ลาชและอีลี แสดงดังภาพประกอบ
 



วิริยาภรณ์ สมานพันธ์ 06530054

รูปแบบการสอน : ของแฮร์โรว์ Harrow’s Instructional Model
แฮร์โรว์ ได้จัดลำดับขั้นของการเรียนรู้ทางด้านทักษะปฏิบัติไว้ 5 ขั้น โดยเริ่มจากระดับที่ซับซ้อนน้อยไปจนถึงระดับที่มีความซับซ้อนมาก ดังนั้นการกระทำจึงเริ่มจากการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อใหญ่ไปถึงการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อย่อย ลำดับขั้นดังกล่าวได้แก่การเลียนแบบ การลงมือกระทำตามคำสั่ง การกระทำอย่างถูกต้องสมบูรณ์ การแสดงออกและการกระทำอย่างเป็นธรรมชาติ
ประโยชน์ / เป้าหมายของการสอนนั้น
1. ผู้เรียนจะเกิดการพัฒนาทางด้านทักษะปฏิบัติ
2. ผู้เรียนสามารถกระทำ หรือ ปฏิบัติการอย่างเป็นธรรมชาติ
ขั้นตอนการสอน
ขั้นที่ 1 ขั้นการเลียนแบบ
ขั้นที่ 2 ขั้นการลงมือกระทำตามคำสั่ง
ขั้นที่ 3 ขั้นการกระทำอย่างถูกต้องสมบูรณ์
ขั้นที่ 4 ขั้นการแสดงออก
ขั้นที่ 5 ขั้นการกระทำอย่างเป็นธรรมชาติ
สืบค้นโดยการ คัดลอกข้อมูล (ฐิติรัตน์ 040)

รูปแบบการสอนของทอแรนซ์

รูปแบบการเรียนการสอนนี้พัฒนามาจากรูปแบบการคิดแก้ปัญหาอนาคตตาม
มีองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ 3 องค์ประกอบ คือ การคิดคล่องแคล่ว การคิดยืดหยุ่น การคิดริเริ่ม มาใช้ประกอบกับกระบวนการคิด
แก้ปัญหา และการใช้ประโยชน์จากกลุ่มซึ่งมีความคิดหลากหลาย โดยเน้นการใช้เทคนิคระดมสมองเกือบทุกขั้นตอน
ข. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
ฃมุ่งช่วยพัฒนาผู้เรียนให้ตระหนักรู้ในปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
 
และเรียนรู้ที่จะคิดแก้ปัญหาร่วมกัน
 
ค. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ
ขั้นที่ 1 การนำสภาพการณ์อนาคตเข้าสู่ระบบการคิด
นำเสนอสภาพการณ์อนาคตที่ยังไม่เกิดขึ้น หรือกระตุ้นให้ผู้เรียนใช้การคิดคล่องแคล่ว การคิดยืดหยุ่น การคิดริเริ่ม และจินตนาการ
ขั้นที่ 2 การระดมสมองเพื่อค้นหาปัญหา
จากสภาพการณ์อนาคตในขั้นที่ 1 ผู้เรียนช่วยกันวิเคราะห์ว่าอาจจะเกิดปัญหาอะไรขึ้นบ้างในอนาคต
ขั้นที่ 3 การสรุปปัญหา และจัดลำดับความสำคัญของปัญหา
ผู้เรียนนำปัญหาที่วิเคราะห์ได้มาจัดกลุ่ม หและจัดลำดับความสำคัญของปัญหา
ขั้นที่ 4 การระดมสมองหาวิธีแก้ปัญหา
ผู้เรียนร่วมกันคิดวิธีแก้ปัญหา โดยพยายามคิดให้ได้ทางเลือกที่แปลกใหม่ จำนวนมาก
ขั้นที่ 5 การเลือกวิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด
เสนอเกณฑ์หลาย ๆ เกณฑ์ที่จะใช้ในการเลือกวิธีการแก้ปัญหา แล้วตัดสินใจเลือกเกณฑ์ที่มีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้ในแต่ละสภาพการณ์ ต่อไปจึงนำเกณฑ์ที่คัดเลือกไว้ มาใช้ในการเลือกวิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด โดยพิจารณาถึงน้ำหนักความสำคัญของเกณฑ์แต่ละข้อด้วย
ขั้นที่ 6 การนำเสนอวิธีการแก้ปัญหาอนาคต
ผู้เรียนนำวิธีการแก้ปัญหาอนาคตที่ได้มาเรียบเรียง อธิบายรายละเอียดเพิ่มเติมข้อมูลที่จำเป็น คิดวิธีการนำเสนอที่เหมาะสม และนำเสนออย่างเป็นระบบน่าเชื่อถือ
ง.ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ**
ผู้เรียนจะได้พัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหา และใช้ทักษธการคิดแก้ปัญหามาใช้ในการแก้ปัญหาปัจจุบัน และอนาคต

จากการศึกษารายละเอียดของรูปแบบการออกแบบระบบการเรียนการสอนของนักวิชาการต่างๆ ดังกล่าวมาแล้ว ผู้เขียนสามารถสังเคราะห์องค์ประกอบของระบบการเรียนการสอนที่มีการดำเนินงานสัมพันธ์กันเพื่อให้การจัดการเรียนการสอนบรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการได้ดังนี้คือ
.....1) ความจำเป็นหรือความต้องการในการจัดการเรียนการสอน
.....2) ผู้เรียน
.....3) สภาพแวดล้อม
.....4) ผู้สอน
.....5) จุดมุ่งหมาย
.....6) วิธีการสอน
.....7) เนื้อหา
.....8) แผนการจัดการเรียนการสอน
.....9) เวลาเรียน
.....10) วิธีการเรียนหรือกิจกรรมการเรียน
.....11) ทรัพยากรในการเรียนการสอน
.....12) การควบคุม ตรวจสอบและประเมินผล
.....13) ข้อมูลย้อนกลับ